พาว ซุยยากุ เอสเซนส์ ผู้นําด้านสมุนไพรสกัด 

เจ้าแรกที่ได้รับรางวัล นวัตกรรด้วย 2 อนุสิทธิบัตร 4 งานวิจัยรับรอง จาก มช.

พาว ซุยยากุ เอสเซนส์ New hope ของการสร้างภูมิต้านไวรัส ที่มีงานวิจัยรับรอง 

 

              “ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร “พาว ซุยยากุ เอสเซนส์” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการค้นคว้า และวิจัยมากกว่า 1 ทศวรรษ หรือราว 10 กว่าปี เพื่อให้ได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสม ทําให้ได้ผลิตภัณฑ์ สมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัย พัฒนา หรือปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านการพิจารณารับรองโดยสํานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะสามารถขึ้นทะเบียนให้อยู่ใน บัญชีนวัตกรรมไทย ถือเป็น “นวัตกรรมไทยเจ้าแรก” ที่ได้จากการบูรณาการเทคโนโลยีการนําส่ง จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เข้ากับการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพร เพื่อเพิ่มคุณประโยชน์ต่อสุขภาพให้แก่เครื่องดื่ม มี ส่วนประกอบหลักมาจากใบและยอดอ่อนของ “พลูคาว” และยังมีส่วนประกอบของสมุนไพรอีก 10 ชนิดที่ ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ การนําสมุนไพรเหล่านี้มาผ่านกระบวนการผลิตด้วยวิธีที่เหมาะสม จึงทําให้เกิด เป็นผลิตภัณฑ์ “พาว ซูยยากุ เอสเซนส์” เครื่องดื่มสมุนไพรที่รวมคุณค่าของสมุนไพรหลากหลายชนิด เพื่อ การบํารุงสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ 

              “พลูคาว” พืชสมุนไพรท้องถิ่นของภาคเหนือ ที่มีคนรู้จักในนามของคาวตอง พืชสมุนไพรพื้นบ้าน สําหรับใช้เป็นผักเครื่องเคียงในเมนูอาหารของชาวเหนือ ได้ถูกนํามาศึกษาวิจัยกันอย่างต่อเนื่องด้วยเส้น ทางงานวิจัย โดยบริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่โฮลดิ้ง จํากัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึง ปัจจุบัน รวมเป็น ระยะเวลายาวมากกว่า 10 ปี ทําให้มีงานวิจัยรองรับมากถึง 4 ฉบับ ตลอดจนพัฒนาจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมที่ได้รับการขึ้นบัญชีนวัตกรรมแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน จึงกล่าวได้ว่า เราเป็น “บริษัทผู้นําของ สมุนไพรพลูคาวสกัด” 

              ผลงานภายใต้โครงการวิจัย จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ บริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่โฮลดิ้ง จํากัด จํานวน 4 ฉบับ ดังนี้ 

งานวิจัยที่ 1  ปี พ.ศ. 2554  เรื่อง การวิเคราะห์ค่าทางโภชนาการ สาระสําคัญและฤทธิ์การต่อต้าน อนุมูลอิสระของน้ําผลไม้ผสมสมุนไพรพร้อมดื่ม โดย นักวิทยาศาสตร์ประจําคณะอุตสาหกรรมเกษตร 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้สารสกัดพลูคาวจากงานวิจัยนั้น มีสารประกอบฟีนอลิก Phenolic compounds และFlovonoids ฟลาโวนอยด์เป็นองค์ประกอบ สารหลักที่พบคือ Epicatechin Quecitin และ Rutin ซึ่งเป็นสารสําคัญที่ออกฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และลดการเกิดออกซิเดชันของไข มันในหลอดเลือด (เอกสิทธิ์, 2554) 

งานวิจัยที่ 2 ปี พ.ศ. 2556 เรื่อง การพัฒนากระบวนการผลิตพลูคาวผสมน้ําผลไม้และสมุนไพรได้ มาซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (Probiotics) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจําคณะคณะอุตสาหกรรม เกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาการเทคโนโลยีการผลิต ให้มีความเฉพาะเจาะจงเพื่อได้สารออกฤทธิ์ ในปริมาณ จากการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตเทคนิคพิเศษ สามารถนําส่งจุลินทรีย์กลุ่มกรดแลคติก (Lactic acid bacteria หรือ LAB) สามารถจดอนุสิทธิบัตรวิธีการผลิต (อิสรพงษ์, 2556) 

งานวิจัยที่ 3 เรื่อง ปี พ.ศ. 2558 การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากใบพลูคาวเพื่อยกระดับ ความสามารถด้านการแข่งขันในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจําคณะ อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าเมื่อศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ทางชีวภาพในหลอดทดลอง สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญของการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และการเกิดโรคเรื้อรัง กลุ่ม โรค NCDs ชนิดไม่ติดต่อ เช่น มะเร็ง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจป็นต้น และยังสามารถยับยั้งการเจริญ ของเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งลําไส้ใหญ่ ส่วนในการศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ พบว่าไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ไตของลิง และเซลล์ผิวหนังของ มนุษย์ (เอกสิทธิ์, 2558) 

งานวิจัยที่ 4 เรื่อง ปี พ.ศ. 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ได้ทําการศึกษาต่อเนื่อง โดยมุ่งสร้างเอกลักษณ์ในส่วนของกระบวนการผลิตของสารสกัจากใบ พลูคาว เพื่อยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์ โดยเลือกใช้ นวัตกรรม การย่อยด้วยกลุ่มของเอ็นไซม์เฉพาะเจาะจง (Enzyme Hydrolyses (EN.HYDRO) เพื่อผลิตโมเลกุลของสาร ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในรูปฟอร์มที่มีขนาดเล็กลง ทําให้มีกิจกรรมทางชีวภาพใหม่เกิดขึ้นและยังทําให้เกิด การดูดซึมได้ง่ายยิ่งขึ้น นําส่งสารออกฤทธิ์เข้มข้นขึ้นกว่างานวิจัยตัวก่อน (เอกสิทธิ์, 2563) 

              นอกจากนี้ “พลูคาวสกัดเข้มข้น” จากงานวิจัย จึงเป็น เอกสิทธิ์ 1 เดียวในประเทศไทย ทั้งใน กระบวนการผลิตในรูปแบบเครื่องดื่ม ผงบรรจุซอง และผงบรรจุแคปซูล เป็น อนุสิทธิบัตร 2 ฉบับ 

              นอกจากงานวิจัยต่อเนื่องทั้ง 4 ฉบับแล้ว ยังมีงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ เกี่ยวกับฤทธิ์ทาง เภสัชวิทยาของพลูคาวสกัด ว่านอกจากมีส่วนในการลดการอักเสบ เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ที่ติด เชื้อ HIV-1 ลดการลุกลามของเชื้อไวรัสเริม และอีสุกอีใส นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการ “ต่อต้านไวรัส” มี งานวิจัยอ้างอิงถึงผลยับยั้งเชื้อ SARS-CoV ที่เป็นสาเหตุของโรค severe acute respiratory syndrome (SARS) 

โดยยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ 3C-like protease (3CLpro) และ RNA-dependent RNA polymerase (RdRp) ซึ่งเป็นเชื้อกลุ่มเดียวกันกับโคโรน่าไวรัส ที่ก่อให้เกิดโรค Covid – 19 ในปัจจุบัน 

จากงานวิจัยทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ได้นํามาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ให้เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยใช้ “พลูคาวสกัดเข้มข้น” (Essence, Extract) ที่ได้จากงานวิจัย ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ตามแต่วัตถุประสงค์ และ เป้าหมายของฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต่างกันในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มุ่งพัฒนาสารสกัดพลูคาวจากงานวิจัย จน สามารถผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ให้ผลได้จริง 

และเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจินดา ศรีวัฒนะคณบดี คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ได้เป็นประธานผู้ส่งมอบนวัตกรรมงานวิจัย ใน พิธีส่งมอบงานวิจัย “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ สมุนไพรพลูคาวสกัด” จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สู่ บริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่โฮลดิ้ง จํากัด โดยมีนาย รัฐวิชญ์ สิริอมรสิทธิ์ ประธานบริหาร บริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่โฮลดิ้ง จํากัด เป็นผู้รับมอบ ซึ่งพลูคาว สกัดนั้น ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสําคัญ ของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร พาว ซุยยาก เอสเซนส์ เลยทีเดียว และในงานวันดังกล่าวนี้ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

บริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหมโฮลดิ้ง จํากัด มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะพัฒนาคุณภาพ เพื่อส่งมอบ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ดีที่สุดที่เปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค 

เอกสารอ้างอิง 

อิสรพงษ์ พงษ์ศิริกุล (2556) รายงานฉบับสมบูรณ์ การพัฒนากระบวนการผลิตพลูคาวผสมน้ําผลไม้และ สมุนไพรด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์, โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เชียงใหม่.

เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ (2554) รายงานฉบับสมบูรณ์ การวิเคราะห์ค่าทางโภชนาการ สาระสําคัญและฤทธิ์ การต่อต้านอนุมูลอิสระของน้ําผลไม้ผสมสมุนไพรพร้อมดื่ม ภายใต้การสนับสนุนคณะ อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2554  เชียงใหม่.

เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ (2559) รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากใบพลูคาว เพื่อยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์ โครงการพัฒนาขีดความ สามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ ภายใต้การสนับสนุนตามกลไกอุทยาน วิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ปีงบประมาณ 2558 เชียงใหม่.

เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ (2553) รายงานฉบับสมบูรณ์ การพัฒนากระบวนการผลิตและทดสอบประสิทธิผล ทางชีวภาพของสารสกัดใบพลูคาวเข้มข้นสูง เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ด้านการผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โครงการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชน ในพื้นที่ ภายใต้การสนับสนุนตามกลไกอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ปีงบประมาณ 2561 เชียงใหม่.

Lau, Kit-Man, et al. “Immunomodulatory and anti-SARS activities of Houttuynia cordata.” Journal of Ethnopharmacology 118.1 (2008): 7985. 

Cheng, BaoHui, et al. “Structural characterization and immunomodulatory effect of a polysaccharide HCP2 from Houttuynia cordata.” Carbohydrate polymers 103 (2014): 244-249

Fu, Jiangang, et al. “Houttuynia cordata Thunb: a review of phytochemistry and pharmacology and quality control.” Chinese Medicine 4.03 (2013): 101

Nuengchamnong, Nitra, Kamlai Krittasilp, and Kornkanok Ingkaninan. “Rapid screening anidentification of antioxidants in aqueous extracts of Houttuynia cordata using LCESIMS coupled with DPPH assay.” Food Chemistry 117.4 (2009): 750756. 

Kim, Seong-Kie, et al. “Cytotoxic alkaloids from Houttuynia cordate.” Archives of pharmacal research 24.6 (2001): 518-521.

LingShang, W. U., et al. “Quantitive variation of flavonoids in Houttuynia cordata from different geographic origins in China.” Chinese Journal of Natural Medicines 7.1 (2009): 4046. 

Chen, YuhFung, et al. “Houttuynia cordata Thunb extract modulates G 0/G 1 arrest and Fas/CD95mediated death receptor apoptotic cell death in human lung cancer A549 cells.” Journal of biomedical science 20.1 (2013): 18. 

Li, Weifeng, et al. “Houttuynia cordata, a novel and selective COX-2 inhibitor with antiinflammatory activity.” Journal of ethnopharmacology 133.2 (2011): 922-927. 

Tian, Lingmin, et al. “Chemical composition and hepatoprotective effects of polyphenol-rich extract from Houttuynia cordata tea.” Journal of agricultural and food chemistry 60.18 (2012): 46414648.